โรงไฟฟ้าอุทัย กลุ่มบริษัทกัลฟ์(Gulf) จับมือเครือข่าย ทสม.อยุธยา เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสร้างองค์ความรู้ชุมชนต้นแบบ

โรงไฟฟ้าอุทัย กลุ่มบริษัทกัลฟ์(Gulf)  จับมือเครือข่าย ทสม.อยุธยา  เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสร้างองค์ความรู้ชุมชนต้นแบบ

โรงไฟฟ้าอุทัย กลุ่มบริษัทกัลฟ์(Gulf) จับมือเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ทสม.พระนครศรีอยุธยา นักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นสพ.สยามโพลล์ จัดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ “ชุมชนต้นแบบพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและธุรกิจชุมชน”

      นายสมชาย พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร  โรงไฟฟ้าอุทัย (บริษัทกัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด ) กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf)   นายสมศักดิ์ สันธินาค ประธานเครือข่ายฯ ทสม. และ ผู้ใหญ่สุนทร  พระครูถิ่น ประธานชุมชนต้นแบบบ้านไร่ หมู่ 6  ต.พระนอน  อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  ร่วมจัดกระบวนการสรุปองค์ความรู้  ชุมชนต้นแบบ  ร่วมกับ นักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต  กว่า 50 คน และ นสพ.สยามโพลล์ จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยมีฐานการเรียนรู้หลัก 2 ฐานความรู้ ประกอบด้วย

      ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ด้านวัฒนธรรมชุมชนและธุรกิจชุมชน ณ หมู่บ้านตีมีดอรัญญิก ต.ท่าช้าง  อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่สืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาการตีมีด และผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในการเกษตร และเป็นแหล่งสินค้าโอทอปที่โดดเด่นระดับสากลของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ประเด็นเนื้อหาสำคัญ คือ กระบวนการสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมดั้งเดิม และการปรับประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย รวมทั้งเทคนิควิธีการการบริหารจัดการกลุ่ม และการพัฒนาการตลาดที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งต่อการจัดการธุรกิจชุมชนสมัยใหม่

      ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การนำองค์ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง  รัชกาลที่ 9 นำมาปฏิบัติอย่างจริงจังจนเกิดผลเชิงประจักษ์ในการพึ่งตนเองได้  ณ  ชุมชนบ้านไร่  หมู่ 6   ต.พระนอน  อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา และ ชุมชนโดยรอบ  ฐานเรียนรู้นี้  มีประเด็นสำคัญ คือ การปรับผืนนา พื้นที่รอบบ้าน มาทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว  รั้วกินได้ ผลไม้ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา แยกขยะ ลดละอบายมุข สามารถลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ อย่างชัดเจน   เป็นชุมชนที่ปลอดหนี้ นอกจากนี้ยังขยายแนวคิด ไปยังคุ้มต่างๆ ได้แก่

     คุ้มฐานการเปลี่ยนวิถีชาวนา  ซึ่งได้นำที่นาบางส่วนปรับเปลี่ยนมาทำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม แบบโคกหนองนา  ผลิตอาหารเองได้และเหลือนำไปขายสร้างรายได้ วันละ 300-500 บาท มีผักผลไม้ มะพร้าว กล้วย ฯลฯ ขายทุกๆ เดือน มีปลาในสระน้ำ  ยังขายได้อีกปีละ 2 ครั้ง รายได้เป็นหลักหมื่น  อีกเรื่องที่น่าสนใจเช่นกัน  คือ การปรับเปลี่ยนที่นา  มาใช้ปลูกต้นใบเตย  ทดแทนการทำนา จำนวน 2 ไร่ มีรายได้จากการตัดใบเตยขายทุกวัน ทุกเดือน ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาททีเดียว  เป็นการแก้ปัญหาการทำนาที่ราคาตกต่ำ  ต้นทุนสูงได้เป็นอย่างดี

   นอกจากนั้น ยังมีกรณี ของการใช้พื้นที่รอบๆ บ้านทำเกษตรพอเพียงและเพาะพันธุ์กล้าไม้จำหน่าย  รวมทั้งการสร้างพื้นที่สวนไร่นาให้สวยงามมีผลผลิตและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี  นอกจากสร้างความสุขสวยงามยังเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ควบคู่กันไปในแนวทางการท่องเที่ยวชุมชน  นับเป็นต้นแบบที่ทำง่ายๆ แต่ได้ผลดีเกินคาด  เข้าทำนอง  “เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน พลิกชีวิตได้ดีขึ้น” นี่คือ ผลเชิงประจักษ์ของ ชาวนาต้นแบบที่เดินตามรอยพ่อหลวง  “เศรษฐกิจพอเพียง”  ทางเลือกทางรอดของชาวนาและเกษตรกร นำไปประยุกต์ใช้ อีกแห่งหนึ่งใน  จ.พระนครศรีอยุธยา

      ผู้ใหญ่สุนทร  พระครูถิ่น  ประธานศูนย์เรียนรู้ ฯ กล่าวว่า  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ดีมาก สอดคล้องกับวิถีชาวนา เกษตรกร เมื่อได้ปฏิบัติจริงแล้ว เห็นผลดีอย่างมากกับตนเองและครอบครัว  สามารถพึ่งพาตนเองได้เยอะสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ด้วยคนในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ผมมีความเชื่อมั่นและเห็นว่านี่ คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน ของเกษตรกรและชุมชน

      นายสมศักดิ์ สันธินาค  ประธานเครือข่าย ทสม.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า  ชุมชนในพระนครศรีอยุธยา มีหลายชุมชนที่พัฒนาชุมชนได้ประสบผลสำเร็จ และเป็นต้นแบบที่ชุมชนสามารถมาเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้  การส่งเสริมและขยายผลสู่ประชาชนวงกว้าง หรือการต่อยอดในการสร้างองค์ความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหลายหน่วยงาน  จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งของชุมชนและประชาชนที่ยังไม่ได้มีโอกาสมาเรียนรู้  ได้เข้าถึงองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและครอบครัว

     นายสมชาย พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฯ โรงไฟฟ้าอุทัย กลุ่มบริษัทกัลฟ์ กล่าวว่า บริษัทฯ มีนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม มาโดยตลอด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ชุมชนจำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ และการต่อยอดนวัตกรรมทางสังคม  การร่วมสรุปการเรียนรู้ และการสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน  การสรุปบทเรียน เป็นนวัตกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง  ที่จะเป็นเครื่องมือการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ สู่ประชาชน นักศึกษา  และบุคคลสนใจ นำไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาตนเองและชุมชน ในวิถีที่เหมาะสมสอดคล้องกับตนเองได้ต่อไป

     นายสิทธิรักษ์  แสงกล้า  เจ้าของและบรรณาธิการ นสพ.สยามโพลล์ กล่าวว่า  องค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาชุมชนได้ แต่มีชาวบ้านจำนวนมากที่ยังไม่ทราบและเข้าไม่ถึงแหล่งเรียนรู้ ในบทบาทของสื่อมวลชน เห็นความสำคัญและพร้อมสนับสนุนการสื่อสาร และการประสานงานเพื่อสร้างให้เกิดสังคมการเรียนรู้ในสังคม  อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติของเราต่อไป

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2025-03-29 ] ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา เตรียมนำข้าวขึ้นน้ำ 9 สายพันธุ์แปรรูป สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร....


- วันที่[2025-03-23 ] GULF - CMWTE ผนึกกำลังชุมชนบ้านทุ่งยาว ดอยสะเก็ดฯ ลด PM 2.5 ทำแนวกันไฟ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์....


- วันที่[2025-03-19 ] เกษตรชลฯ ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ร่วมการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ระดับเขต ปี 68....


- วันที่[2025-03-19 ] Gulf MTP ร่วมกับ ศูนย์ฯ ข่าวไทกรุ๊ป จัดกิจกรรมฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนด้วยจุลินทรีย์ จ.ระยอง....


- วันที่[2025-03-16 ] กัลฟ์ 1 เปิดตัว “วันอาทิตย์” แบรนด์โซลาร์บ้านครบวงจร บุกตลาดค้าปลีกพลังงานสะอาด ผ่าน AIS Shop ทั่วประเทศ....


- วันที่[2025-03-14 ] พานาโซนิค ผนึกกำลัง อายิโนะโมะโต๊ะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างปอดให้ชุมชนในจังหวัดอยุธยา....


- วันที่[2025-03-08 ] นายก อบต. จับมือ กำนัน ต.ลาดตะเคียน กบินทร์บุรีฯ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “เมืองจุลินทรีย์” เพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชน....


- วันที่[2025-02-27 ] นายก อบต. - กำนัน ต.ลาดตะเคียน กบินทร์บุรีฯ จับมือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ ส่งเสริมยุทธศาสตร์ “เมืองจุลินทรีย์” เพื่อพัฒนาชุมชน....


- วันที่[2025-02-26 ] อยุธยา – นอภ.บางปะอิน ลงมือทำเมนูเด็ดแซนด์วิชปลา “การทำแซนด์วิชปลา ลดการเผาฟาง”....


- วันที่[2025-02-24 ] อยุธยา - นอภ.บางปะอิน ( Kick Off) นั่งรถแห่ เคาะประตูบ้าน “หยุดเผา หยุดฝุ่น เพื่อคุณเพื่อเรา”....


ดูข่าวทั้งหมด